อาหารบำบัดโรคมะเร็งตับ
โดยอาการที่พบบ่อยในผู้ป่วยมะเร็งตับ คือ ท้องอืด เนื่องจากตับที่เป็นอวัยวะในการผลิตน้ำดีเพื่อทำการช่วยย่อยไขมัน
อยู่ใกล้ชิดกับบริเวณลำไส้ จึงอาจส่งผลกระทบต่อระบบการย่อยอาหารได้ง่าย
และมะเร็งตับยังอาจส่งผลต่อการรับรสอาหารที่เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงของสมองและระบบประสาท
ดังนั้นอาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลผู้ป่วยให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และอยู่อย่างมีความสุข
1.โปรตีน
ควรได้รับโปรตีนเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
เพื่อให้ร่างกายมีโปรตีนเพียงพอที่จะไปซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งโปรตีนที่ควรได้รับ มาจากเนื้อปลา ไข่ไก่ เป็นต้น
ในผู้ป่วยมะเร็งตับ หากมีอาการบวมน้ำที่มีสาเหตุมาจากการมี “โปรตีนอัลบูมิน” (albumin)ต่ำ
ควรได้รับการเสริมอาหารประเภทโปรตีนเพิ่ม โดยเฉพาะไข่ขาว เพราะในไข่ขาวจะมีโปรตีนอัลบูมินอยู่สูง
คุณสมบัติของโปรตีนชนิดนี้จะช่วยอุ้มน้ำในหลอดเลือด ดังนั้นจึงสามารถทำให้อาการบวมน้ำดีขึ้นได้
อาจรับประทานไข่ขาวลวกวันละ 2 ฟอง เพื่อเพิ่มอัลบูมินแก่ร่างกาย

การรับประทานโปรตีนจะได้รับในปริมาณมากไม่ได้ ควรต้องได้รับการดูแลและควบคุมโปรตีนเป็นพิเศษ
จึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อได้รับคำวินิจฉัยที่ถูกต้องเพื่อการดูแลตนเองที่ถูกต้อง 

2.คาร์โบไฮเดรต
สารอาหารชนิดนี้สามารถรับประทานได้ตามปกติ ควรได้รับคาร์โบไฮเดรต 55-60% ของพลังงานที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน
หรือ อาจจะรับประทานน้ำหวานเพิ่มได้ (ในรายที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน) เพื่อคงระดับน้ำตาลในเลือด ให้รับประทานคาร์โบไฮเดรตประเภทข้าว
ไม่ควรบริโภคธัญพืชผักใบเขียวในปริมาณที่มากเกินไป
เพราะอาจส่งผลให้ระบบทางเดินอาหารทำงานมากขึ้นและเกิดอาการแน่นท้องมากขึ้นได้
ผู้ป่วยควรได้รับพลังงานที่เพียงพอ เพื่อป้องกันการเกิดภาวะทุพโภชนาการ ทำให้น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็ว
แล้วร่างกายดึงโปรตีนมาใช้ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง ซึ่งหากเกิดภาวะดังกล่าวจะทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย
และอาจเกิดโรคแทรกซ้อน
3.ไขมัน
ผู้ป่วยควรระมัดระวังในการบริโภคไขมันเป็นพิเศษ
เพราะเมื่อมะเร็งเกิดขึ้นที่ตับจะทำให้ประสิทธิภาพในการการสร้างน้ำดี ลดลง
หากรับประทานไขมันที่มีปริมาณสูงเข้าไป ไขมันจะย่อยยากหรือไม่สามารถย่อยได้ ทำให้เกิดภาวะถ่ายเป็นหยดไขมัน
แน่นท้อง ท้องอืด จากการที่มีไขมันคั่งค้าง จุลินทรีย์ในลำไส้จะเปลี่ยนไขมันเป็นแก๊ส ทำให้เกิดแก๊สในทางเดินอาหาร
จึงเป็นสาเหตุของอาการท้องอืด แน่นท้อง ในบางกรณีแพทย์มักจะให้ใช้ไขมัน คือ MCT (Medium-chain Triglyceride Oil) ให้ผู้ป่วยทดแทนไขมันปกติ
โดยแพทย์หรือนักกำหนดอาหารจะเป็นผู้สั่งให้รับประทานในรูปแบบอาหารทางการแพทย์




และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด


ผู้ป่วยมะเร็งตับบางครั้งอาจมีการย่อยอาหารยาก แน่นท้อง ท้องอืดได้ง่าย
ทำให้ไม่สามารถรับประทานอาหารในปริมาณเท่ากับคนปกติ ดังนั้นควรจัดอาหารให้ผู้ป่วย
โดยกระจายมื้ออาหารจากปกติ 3 มื้อ เป็น 5-6 มื้อ เช่น จากเดิมรับประทานอาหาร 3 มื้อ 

เช้า / กลางวัน / เย็น
ก็เพิ่มเป็น
เช้า / ว่างเช้า / กลางวัน / ว่างบ่าย / เย็น / ก่อนนอน

นอกจากผู้ป่วยมะเร็งตับต้องได้รับอาหารให้พอเพียงกับความต้องการของร่างกายแล้ว
ยังต้องปราศจากสิ่งปนเปื้อน เพราะหากได้รับสิ่งปนเปื้อนจะทำให้ตับต้องทำงานในการกำจัดสารพิษมากขึ้น
อีกทั้งผู้ป่วยมะเร็งตับจะมีการเปลี่ยนแปลงของสภาวะร่างกายเกิดขึ้นบ่อย
ดังนั้นควรได้รับการดูแลจากแพทย์อย่างใกล้ชิด
ทุก 1 การติดตาม “เพจหมอเห็ด” เท่ากับ คุณร่วมบริจาคเงิน 1 บาท มอบให้แก่ มูลนิธิสถาบันมะเร็งแห่งชาติ / รพ.มะเร็งลพบุรี และผู้ป่วยมะเร็งไร้ญาติ

ในนาม บริษัท เซนทอล จำกัด ขอเป็นส่วนหนึ่งมอบเงินบริจาคให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็ง จากยอดผู้ติดตาม “เพจหมอเห็ด” เพจที่ให้สาระความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง